จะเป็นอย่างไรเมื่อเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ
ใครเคยกินนยาปฏิชีวนะบ้าง ? ใครป่วยบ่อย ? ใครกินยาบ่อย….. ใคร ใคร ใครกัน………..
การที่เราเจ็บป่วยที่แน่ๆคือการที่เราต้องกินยาใช่ไหมค๊ะ แต่หากเรากินยานานๆ นอกจากจะหนีไม่
พ้นความเสื่ยงต่อการเกิดโรคไต โรคตับแล้ว ที่สำคัญไปกว่านั้นคือการเกิดภาวะเชื้อแบคทีเรีย
ดื้อยาปฏิชีวนะก็ยิ่งเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตอย่างรวดเร็วอีกเรื่องหนึ่ง เชื้อแบคทีเรียดื้อยา
ปฏิชีวนะ (เชื้อซุปเปอร์บั๊ก) เชื้อนี้เป็นเชื้อที่ติดต่อได้ทุกช่องทาง ทั้งทางอาหาร น้ำ การหายใจ
การสัมผัส การผ่าตัด การสักลายบนผิวหนัง ศัลยกรรมความงาม โดยการสัมผัสสารคัดหลั่ง
ของผู้ป่วย หลายคนติดเชื้อซุปเปอร์บั๊กจากการไปท่องเที่ยวโดยเฉพาะประเทศที่เป็นแหล่งระบาด
เชื้อซุปเปอร์บั๊ก เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่กลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ (ปกติเชื้อแกรม
ลบมีความร้ายแรงกว่าเชื้อแกรมบวกอยู่แล้ว) แต่เชื้อซุปเปอร์บั้กอันตรายเพิ่มมากขึ้นตรงที่เชื้อ
ซุปเปอร์บั้กสามารถสร้างน้ำย่อยมาทำลายยาปฏิชีวนะซึ่งใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดดื้อยา
เชื้อซุปเปอร์บั๊ก มี 2 ชนิด
1.เชื้ออีโคไล ทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสวะ เช่นท้องเสีย ทางเดิน
ปัสสวะอักเสบ ไตอักเสบ
2.เชื้อเครบซีลลา ทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดบวม
อาการของโรค ขึ้นกับว่าเกิดการติดเชื้อที่ระบบไหน แต่จะรุนแรงเพิ่มขึ้นมากกว่าการติดเชื้อแบบ
เดิม การรักษาก็ยังเป็นการรักษาแบบประคับประคองอาการเพราะยังไม่มียาที่รักษาโดยตรง และ
ความรุนแรงก็ขึ้นกับปริมาณเชื้อ สุขภาพก่อนการติดเชื้อ ระยะฟักตัวก็อาจไม่เท่ากัน
กลุ่มเสี่ยงการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ
- ผู้ที่ได้รับยากดภูมิ
- ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
- ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ปวยปลูกถ่ายอวัยวะ
- ผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ
- ผู้ที่ได้รับการผ่าตัด
- ผู้ป่วยโรคประจำตัวเรื้อรัง
การป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะที่ดีที่สุดคือ การดูแลร่างกายให้แข็งแรง
รู้จักการดูแลตัวเองเมื่อป่วย การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน การป้องกันการระบาดและการ
แพร่กระจายเชื้อ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง