ลิ้นหัวใจรั่ว

 

 

โรคเกื่ยวกับลิ้นหัวใจ

ลิ้นหัวใจผิดปกติ (Heart valve dysfunction) เป็นได้ทั้งลิ้นหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจฝ่อ และลิ้นหัวใจเสื่อม ลิ้นหัวใจรั่วค่ะ

สาเหตุของการเกิดเรื่องลิ้นหัวใจผิดปกติได้จากหลายสาเหตุ เช่น

ไขมันในเลือดสูง

เบาหวาน

ความดันโลหิตสูง

อ้วน

-โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง

โรคหัวใจ

ภาวะหัวใจล้มเหลว

-การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ เกิดพังผืดหรือพวกไข้รูมาติก

-โรคออโต้อิมมูน/โรคภูมิต้านทานตนเอง

-เนื้อเยื่อลิ้นหัวใจเสื่อม

-ผลจากยาลดน้ำหนักหรือยาที่มีผลต่อความอยากอาหาร 

-การสูบบุหรี่

อาการของหัวใจรั่ว

ทำให้เกิด อาการเล็กๆตั้งแต่เวียนศีรษะ เป็นลม เหนื่อยง่ายกว่าปกติแม้ไม่ได้ออกกำลัง หายใจลำบากนอนราบไม่ได้ นอนราบแล้วเหนื่อย อาจมีปวดหรือเจ็บหน้าอกลามไปแขนหรือบริเวณหน้าท้อง เจ็บเมื่อออกแรง เมื่อเกิดการทำงานที่ผิดปกติของการไหลเวียนเลือดที่รั่วทำให้เลือดคั่งในปอด เกิดการหายใจลำบาก หลอดเลือดสองข้างที่คอโป่งพอง การไหลเวียนเลือดที่หัวใจลดลง มือเท้า ริมฝีปากเขียวคล้ำ ชีพจรเต้นเร็ว กว่าปกติ หัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น และเกิดการบวมน้ำ บวมข้อเท้า เท้า ขาหรือแขน มีอาการมากมายที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของลิ้นหัวใจ แม้แต่การไอ การนอนหลับกลางคืน ปัสสวะตอนกลางคืนบ่อยๆ ก็เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้

เรื่องความผิดปกติของลิ้นหัวใจรั่ว ที่มีทั้ง4ที่ได้แก่

  1. ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral Regurgitation)
  2. ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว (Tricuspid Regurgitation)
  3. ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว (Aortic Regurgitation)
  4. ลิ้นหัวใจพัลโมนารีรั่ว (Pulmonary Regurgitation)

ในแต่ละชนิดมีอาการที่แตกต่างกันแต่นั่น ความสำคัญคือเราจะทำอย่างไรกับมันในเรื่องนี้ เริ่มที่สังเกตุอาการก่อน เพื่อลดความเสี่ยงโดยกำจัดต้นเหตุถึงดีที่สุดค่ะ

สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (Heart valve) ทำงานผิดปกติ เรามักพบได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุและไม่จำกัดเพศ การบีบตัวของหัวใจเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง โดยที่ลิ้นหัวใจเป็นตัวควบคุมทิศทางการไหลเวียนเลือด

เลือดดำจากบนขวา >>> สู่ล่างขวา >>> สู่หลอดเลือดปอด เพื่อไปฟอกเลือด

>>> ฟอกดำที่ฟอกกลายเป็น 

เลือดแดงแล้วไหลกลับมาเข้าหัวใจ >>> ทางห้องซ้ายบน >>> สู่ซ้ายล่าง >>> สู่

ท่อเลือดเอออร์ตา >>> เพื่อส่งเลือดไปเลื้ยงทั่วร่างกาย วนเวียนไหลเป็นวงจรแบบ

นี้ค่ะ 

ลิ้นหัวใจรั่วจะเริ่มแสดงอาการน้อยๆเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นมีอาการที่ยังไม่รุนแรง อาการรุนแรงมากขึ้นเมื่ออายุประมาณ 40 – 50 ปี จนทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยและอ่อนเพลียมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานจะลดต่ำลง

ลิ้นหัวใจจึงเป็นตัวสำคัญที่กำหนดทิศทางอย่างที่กล่าวไปข้างต้น เมื่อลิ้นผิดปกติจึงส่งผลกับกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดภาวะหัวใจโต เลือดคั่งได้ทั้งที่ปอดและหัวใจ เมื่อเป็นมากเกิดหัวใจล้มเหลวได้ง่ายขึ้นและทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

เราควรจัดการกับเรื่องลิ้นหัวใจรั่วอย่างไร

รีบฟื้นฟูด่วนเลยคะ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายและเกิดความเสียหายมากขึ้น คือ

  • ออกกำลังกายอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ ในคนที่ยังออกกำลังกายได้ เรื่องนี้ควรปรึกษาแพทย์ การออกกำลังจะช่วยเรื่องช่วยหัวใจทำงานมากขึ้น
  • ควบคุมน้ำหนัก เพื่อลดความรุนแรงของโรค ป้องกันโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง
  • ดูแลเรื่องอาหารเลี่ยงไขมัน เลี่ยงเค็ม เลี่ยงหวาน
  • ควบคุมความดัน ช่วยเรื่องการทำงานของหัวใจไม่ให้ทำงานหนักเกินไป ไม่ให้ลิ้นหัวใจเกิดความเสียหายรุนแรงมากขึ้น
  • ควรงดการดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับผู้ป่วยโรคล้นหัวใจรั่วการดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้อาการยิ่งหนักขึ้น
  • การทำฟันในผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจรั่ว ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะควบคู่ไปด้วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจส่งผลต่อลิ้นหัวใจ บางคนแพทย์จะสั่งให้ทานยาปฏิชีวนะก่อนไปทำฟัน

  • พบแพทย์เป็นประจำ เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

แพทย์มักใช้ในการควบคุมและรักษาอาการของโรคลิ้นหัวใจมีดังนี้

1.การใช้ยา

ยาขับปัสสาวะ (Diuretics)ช่วยลดอาการเหนื่อยและอาการบวม

ยาเอซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE Inhibitor) เป็นยาที่ใช้เพื่อปรับสภาพการทำงานของหัวใจ ป้องกันหัวใจโตและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้หัวใจ

ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulation Medication) ยาชนิดนี้ใช้กับผู้มีภาวะหัวใจสั่นพริ้วได้ดี (Atrial Fibrillation)

2.การผ่าตัด หากอาการของผู้ป่วยรุนแรง แพทย์จะต้องใช้การผ่าตัดเพื่อรักษาอาการ เพราะเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ 

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ  ทำจากไทเทเนียม ลิ้นหัวใจของสัตว์ ลิ้นหัวใจของคนที่ได้รับการบริจาค

การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมด้วยการใช้สายสวน (Transcatheter Aortic Valve Implantation: TAVI) สวนท่อเข้าไปในหลอดเลือดเอออร์ต้าเพื่อใส่ลิ้นหัวใจเทียม

การสวนหัวใจด้วยสายสวน (Cardiac Catheterization) เป็นการรักษาปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ โดยการสอดสายสวนเข้าไปที่หลอดเลือดหัวใจผ่านทางข้อมือและขาหนีบ เพื่อขยายหลอดเลือด และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนของลิ้นหัวใจรั่ว

หัวใจวาย

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) ถ้าลิ้นหัวใจรั่วอย่างรุนแรง หัวใจจะเต้นเร็วและผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากกระแสไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ หายใจได้ไม่สะดวก

ลิ่มเลือดอุดตันได้

การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ (Endocarditis) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อย แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้หากลิ้นหัวใจผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาที่ดีและทันท่วงที ก็อาจนำมาสู่อาการที่รุนแรงซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ความดันเลือดแดงในปอดสูง (Pulmonary Hypertension) หากผู้ป่วยปล่อยปละละเลย ไม่ยอมทำการรักษาเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจส่งผลให้เกิดความดันในปอด และนำมาสู่ภาวะหัวใจห้องขวาวายได้

ในเรื่องความเสื่อมของลิ้นหัวใจในการรักษาที่ดูยุ่งยากวุ่นวาย เราควรที่จะป้องกันในเรื่องนี้จะดีกว่า การใช้เวลาในการดูแลฟื้นฟูร่างกาย อาจใช้เวลาหน่อยค่ะแต่ก็ถือว่าคุ้มค่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นก็จะลดลง ลดความเสี่ยงต่างๆ หากใครก็ตามมีสาเหตุดังกล่าวมา อย่ารอเวลาให้ปัญหาบานปลายค่ะ

เอเจลอูมิ เอเจลฮาร์ทอเจลมินเป็นทางออกที่สะดวกคุ้มค่าไม่แพง มีผลลัพธ์ที่ช่วยเรื่องนี้อย่างชัดเจน

เราถือเรื่องปัญหาลิ้นหัวใจนี้เป็นสำคัญ “เพราะการป้อกันย่อมดีกว่ารักษาแน่นอนค่ะ”

 

 

โทรปรึกษาสุขภาพ การปรับพฤติกรรมการทานอาหาร และสอบถามรายละเอียดผลิตภัณฑ์ 0830646324