โรคหลอดเลือดสมอง
ในปัจจุบันเห็นเป็นกันอยู่จำนวนมาก และส่งผลต่อการเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ หลายโรงพยาบาลจัดตั้งทีมให้การพยาบาลเร่งด่วนสำหรับเรื่องนี้ มีทีม Stroke ที่มีความพร้อมในการดูแลอย่างจริงจังทันเวลา เพราะถ้าให้การพยาบาลทันท่วงทีถ้าให้ยาทันภายในเวลา4ชั่วโมงครึ่ง เราจะรอดจากการเจ็บป่วยที่ร้ายแรงนี้ เพราะเซลล์สมองจะไม่ขาดเลือดไม่ขาดออกซิเจน คุณๆลองนึกภาพการจราจรบ้านเรา เทียบกับระยะทางในการไปโรงพยาบาลที่มึความพร้อม และใกล้ที่สุดในเวลาที่มี…..พอไหวไหมคะ?
》》โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) เป็นชนิดของหลอดเลือดสมองที่พบได้กว่า 85% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด เกิดจากอุดตันของหลอดเลือดจนทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดร่วมกับภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดจนทำให้เกิดเส้นเลือดตีบแข็ง โรคหลอดเลือดสมองชนิดนี้ยังแบ่งออกได้อีก 2 ชนิดบ่อย ได้แก่
1.โรคหลอดเลือดขาดเลือดจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบ (Thrombotic Stroke) เป็นผลมาจากหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เกิดจากภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปยังสมองได้
2.โรคหลอดเลือดขาดเลือดจากการอุดตัน (Embolic Stroke)
》》โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke) เกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองแตก หรือฉีกขาด ทำให้เลือดรั่วไหลเข้าไปในเนื้อเยื่อสมอง แบ่งได้อีก 2 ชนิดย่อย ๆ ได้แก่
1.โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (Aneurysm) เกิดจากความอ่อนแอของหลอดเลือด ข้อนี้สำคัญไม่แพ้หลอดเลือดตีบ แตก ตัน เพราะส่งผลกระทบให้ถึงกับเดินไม่ได้ก็มี
2.โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ (Arteriovenous Malformation) ที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมองตั้งแต่กำเนิด
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient Ischemic Attack: TIA) ซึ่งเป็นภาวะที่สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงชั่วระยะหนึ่ง จากภาวะลิ่มเลือดอุดตัน แต่จะเกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนที่ลิ่มเลือดจะสลายตัวไป และกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
โรคหลอดเลือดสมองรักษาหายได้ โดยวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ๆ แต่หลังจากรักษาหายแล้ว ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นปกติได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความเสียหายของสมอง และการทำกายภาพบำบัด
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง
อาการที่เกิดขึ้นจะอยู่กับความเสียหายของสมอง โดยอาการของโรคหลอดเลือดสมองทั้ง 2 ชนิดจะค่อนข้างคล้ายกัน แต่ชนิดเลือดออกในสมองจะมีอาการปวดศีรษะและอาเจียนร่วมด้วย ทั้งนี้ผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีหลายอาการร่วมกัน เช่น
- ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอ่อนแรงหรือมีอาการอัมพฤกษ์ และมีอาการเหน็บชาร่วมด้วย
- มีปัญหาการพูด หรือการเข้าใจคำพูดผิดเพี้ยน
- มีปัญหาการทรงตัว บ้านหมุน
- สูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือเห็นภาพซ้อน
- มีอาการมึนงงอย่างรุนแรง
นอกจากนี้ ก่อนเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (TIA) ซึ่งมักจะกินเวลานาน หลังจากนั้นอาการจะหายไป ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนบอกถึงอันตราย เพราะภาวะดังกล่าวนั้นเป็นการแสดงให้ผู้ป่วยเห็นว่าเริ่มมีความผิดปกติที่หลอดเลือด ควรรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน โดยอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะนี้มีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้สูญเสียการมองเห็นชั่วขณะ หรือสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวและความรู้สึกของร่างกายซีกใดซีกหนึ่งชั่วขณะหรือมีการเห็นภาพซ้อน บ้านหมุน สูญเสียการทรงตัว หรือมีปัญหาในการพูดสื่อสารหรือเข้าใจคำสั่งของผู้อื่นได้ชั่วขณะ เมื่อมีอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์โดยเร็ว
สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง ถ้านเรื่องของสาเหตุแล้วไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke)หรือโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (hemorrhagic Stroke)
มีสาเหตุรวมมาจากเรื่องเดียวกันคือ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหลาย พวกโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือดมักเกิดจากภาวะคอเลสเตอรอลสูง ส่วนโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมองมักเกิดจากความดันโลหิตสูงที่มาจากความเครียด และยังอาจเกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง และมีความผิดปกติของหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย
ทั้งนี้ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองยิ่งจะเพิ่มสูงขึ้นหากมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
- อายุ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนในวัยอื่น ๆ แต่ก็อาจพบได้ในคนวัยอื่นได้ด้วยเช่นกัน
- ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีญาติพี่น้องใกล้ชิดป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นอีกด้วยเนื่องจากเป็นด้านพันธุกรรม
- สีผิว ผู้ที่มีสีผิวเข้มเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง สืบเนื่องจากคนที่มีผิวสีเข้มนั้นมีแนวโน้มป่วยด้วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเมื่อเทียบกับคนที่มีสีผิวที่อ่อนกว่า
- ประวัติการรักษา ผู้ที่เคยมีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ หรือหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จะมีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น เนื่องจากเคยมีภาวะหลอดเลือดอุดตันมาก่อน ในผู้ที่เคยมีปัญหานี้ควรที่จะดูแลการทานอาหารให้ถูกต้อง ทานยาอย่างเคร่งครัด ป้องกันการเป็นซ้ำ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค
ใครที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจและติดตามอาการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง และโรคความดันโลหิตสูงด้วย หากพบว่าตัวเองมีอาการใจสั่น หรือหัวใจเต้นผิดปกติ ควรรีบติดต่อแพทย์โดยเร็ว เพราะยิ่งปล่อยไว้ ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะยิ่งเพิ่มขึ้น
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง
การซักประวัติและตรวจร่างกาย
การตรวจเลือด การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
การเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI)
การตรวจอัลตราซาวด์หลอดเลือดแดงที่คอ (Carotid Ultrasound)
การฉีดสีที่หลอดเลือดสมอง (Cerebral Angiogram)
การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) การรักษาจะเน้นไปที่การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ และป้องกันอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง
-ยาละลายลิ่มเลือด
-ยาต้านเกล็ดเลือด เป็นยาที่ช่วยป้องกันการก่อตัวของเกล็ดเลือด เช่นยาแอสไพริน
-ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ใจสั่น หรือผู้ที่เคยมีประวัติการเกิดลิ่มเลือด จะได้ยาวาฟาริน ยาอะพิซาแบน ยาดาบิกาทราน ยาเอโดซาแบน หรือยาริวาโรซาแบน
-ยาลดความดันโลหิต เพื่อลดภาวะเลือดออกในสมอง
-ยาลดไขมันในเลือด หากระดับไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยจะต้องใช้ยาลดไขมันในเลือดเพื่อป้องกันไขมันสะสมกลายเป็นคราบพลัคเกาะที่ผนังหลอดเลือด จนกลายเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด
การรักษาอื่น ๆ ได้แก่
- การผ่าตัดเปิดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid endarterectomy)
- การผ่าตัดเพื่อกำจัดลิ่มเลือด (Thrombectomy)
- การผ่าตัดหยุดเลือด (Surgical Clipping) แพทย์จะนำคลิปขนาดเล็ก ๆ หนีบที่บริเวณฐานของหลอดเลือดที่โป่งพองและมีเลือดออก
- การใส่ขดลวด (Endovascular Embolization) เป็นวิธีการรักษาด้วยการสวนท่อขนาดเล็กเข้าไปที่หลอดเลือดสมองผ่านทางขาหนีบ จากนั้นขดลวดจะเข้าไปยังหลอดเลือดที่โป่งพอง ขดลวดนี้จะเข้าไปขัดขวางการไหลเวียนเลือดตรงบริเวณที่เป็นปัญหา ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
- การผ่าตัดกำจัดเส้นเลือดที่มีปัญหา (Surgical AVM Removal) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีหลอดเลือดสมองที่ผิดปกติ แพทย์จะผ่าตัดเพื่อนำส่วนที่ผิดปกติออก
- การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดสมอง (Intracranial Bypass)ทำทางเดินเลือดใหม่
- การผ่าตัดด้วยรังสี (Stereotactic Radiosurgery) ผ่าตัดโดยใช้รังสีเพื่อซ่อมแซมหลอดเลือดที่มีความผิดปกติ
การดูแลเพื่อความปลอดภัยอื่นๆที่มีความจำเป็น เช่น
การให้อาหารทางสายยาง การให้สารอาหารเสริม การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การให้ออกซิเจน
ในบางรายอาจต้องใช้ถุงน่องป้องกันเส้นเลือดขอด (Compression Stockings) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดที่บริเวณขา ซึ่งจะไปอุดตันหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกับหัวใจและสมอง จนทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
การดูแลรักษาที่รวดเร็วจะช่วยให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติได้ภายใน 6 เดือน แต่ก็ขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้น และการทิ้งร่องรอยการเจ็บป่วยไว้เช่น
อาจมีภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดสมองดังนี้
- อัมพฤกษ์ที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย หรือเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่ใบหน้า และแขน การรักษาด้วยการกายภาพบำบัด อาจทำให้กลับมาปกติได้
- พูดไม่ชัด หรือมีปัญหาในการกลืนอาหาร โรคหลอดเลือดสมองอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียการควบคุมกล้ามเนื้อภายในปากและลำคอ ลิ้นจะแข็งกลืนอาหารลำบาก สูญเสียการพูดและการเข้าใจคำพูด บำบัดด้วยการอ่านหรือเขียนหนังสือ
- สูญเสียความทรงจำ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจจำช้า สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้และการทำความเข้าใจ
- ปัญหาทางด้านอารมณ์ ส่วนใหญ่จะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้อาจมีอารมณ์รุนแรง หรือมีภาวะซึมเศร้า
- อาการเหน็บชา หรือสูญเสียความรู้สึกที่บริเวณอวัยวะ ซึ่งได้รับผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมองได้
- ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ มีสาเหตุจากการบาดเจ็บภายในสมอง ที่เรียกว่าอาการปวดเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลาง
- มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป มีปัญหาในเรื่องพฤติกรรมการใช้ชีวิต และความสามารถในการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวัน ต้องจัดหาผู้ช่วยเพื่อคอยดูแลผู้ป่วยตลอดเวลา
9พฤติกรรมที่ส่งผลต่อโรคหลอดเลือดสมอง
1.ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ปล่อยให้ตัวอ้วน
2.ควบคุมความดันโลหิตสูง ไม่เกิน 130/90 มิลลิเมตรปรอท เลี่ยงอาหารปรุงแต่ง อาหารรสจัด การตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอจะช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตอันเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง
3.ควบคุมระดับไขมันในเลือดไม่เกิน คลอเรสเตอรอล 200 ควรตรวจวัดระดับไขมันในเลือดอย่างน้อยทุก 6 -12 เดือน หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง หรือมีภาวะคอเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว ควรไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามอาการ
4.ทานอาหารที่มีเส้นใยไฟเบอร์สูงขึ้น
5.ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้ปกติ FBS ไม่เกิน100 – 110
หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการของโรคเบาหวาน แพทย์จะตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าผลออกมาแล้วพบว่าเป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิต นอกจากนี้ ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยควบคุมอาการได้ และทำให้ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองลดลง
6.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาทิตย์ละ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย ครั้งคะ 30-40 นาที หรือ การออกกำลังกายที่เหมาะสมคือ 2.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนเด็กและวัยรุ่น ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง
7.ขับถ่ายทุกวันให้เป็นเวลา ช่วงเช้าไม่เกินเวลา 09.00น.
8.พักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
9.บริหารอารมณ์ให้สดชื่นแจ่มใส
งดสูบบุหรี่
ควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ หากเลี่ยงไม่ได้ผู้ชายไม่ดื่มเกินครั้งละ2แก้ว ผู้หญิงครั้งละ1แก้ว
รักษาโรคหัวใจอย่างต่อเนื่อง หากผู้ป่วยมีอาการของโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยา และการผ่าตัด เพราะการรักษาที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองได้
พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความผิดปกติที่อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง ควรพบแพทย์และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
ในส่วนการฟื้นฟููููป้องกััััันเราสามารถใช้สารอาหารประเภที่มีคุณสมบัติที่เป็นสารอาหาร ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องโรคหลอดเลือดสมองค่ะ ผลิตภัณฑ์เอเจลก็เช่นกัน ทั้งตัวอูมิและฮาร์ท มีสารอาหารหลักหลายชนิดที่มีส่วนอย่างมากในการฟื้นฟูหลอดเลือดทั้งหลายให้กลับมาทำงานได้ดีขึ้นสมบูรณ์ขึ้น จนเราสังเกตุความเปลี่ยนแปลงได้ โดยตรวจสอบและวัดผลจากการตรวจเลือด เมื่อเราใช้ร่วมกับการรักษาของแพทย์
ขอแนะนำให้มองแบบนี้ค่ะว่า โรคหลอดเลือดสมอง ทั้งหลายชนิด มีระยะเวลาในการสะสมอาการของโรค กว่าเราจะรู้ตัว หลอดเลือดก็มีความเสื่อมไปมาก ทั้งจากความเสี่ยงจากอาหารที่ทาน ขาดการดูแลตัวเองในหลายๆด้าน พอดูแล้วหลายต่อหลายคน กว่าจะรู้ตัวก็ทำให้เกิดปัญหาที่แก้ยาก และการตรวจวินิจฉัยแต่ละชนิดเพื่อให้รู้แน่ชัดก็ใช้เวลา แพทย์เฉพาะทางก็น้อย เลือกที่จะป้องกันๆดีกว่าค่ะ เพราะในชั่วโมงนี้ไม่มีอะไรดีไปกว่าการป้องกันแล้ว หรือเราควรฟื้นฟูด้วยสารอาหารที่เหมาะสมควบคู่ไปด้วยก็จะยิ่งดี
Agel™ HRT มีส่วนผสมของสารต้านอนุมูลอิสระ 7 อย่าง
ที่มีผลการวิจัยทางการแพทย์ ที่เน้นบำรุงและปกป้องหัวใจคุณโดยเฉพาะ ได้แก่
1. ทอรีน Taurine
เป็นกรดอะมิโนชนิดไม่จำเป็นแต่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นโครงสร้างของกรดอะมิโนตัวอื่นๆทั้งหมด เราพบทอรีนที่เนื้อเยื่อหัวใจ กล้ามเนื้อลาย และระบบประสาทส่วนกลางทอรีนเป็นส่วนผสมของน้ำดี แต่ร่างกายเราสามารถสร้างทอรีนได้เอง ทอรีนจึงมีหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระแก่หัวใจทอรีนมีมากในเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ
ประโยชน์ของทอรีน
- ช่วยลดความเครียด
- พัฒนาระบบประสาทและสมอง
- เสริมสร้างการเจริญเติบโตให้ร่างกาย ช่วงร่างกายเจริญเติบโตต้องการใช้
- ทอรีนเป็นตัวนำกระแสประสาทในสมอง ควบคุมน้ำในเซลสมอง รักษาโรคลมชัก
- ควบคุมคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต
- ควบคุมการเต้นของหัวใจ ช่วยเรื่องการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ เรียกว่าช่วยเรื่องการ ป้องกันหัวใจวาย ได้
- รักษาความคงตัวให้กับผนังเซล
- เป็นตัวแอนตี้ออกซิแดนซ์ในเม็ดเลือดขาวและในปอด
- ลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือด
- ทอรีนยังช่วยเรื่องการรับแสงของสายตา ป้องกันจอประสาทตาเสื่อมในคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ ใช้มือถือมากๆ
- ทอรีนช่วยในการดูดซึมไขมันและวิตามินที่ละลายในไขมัน
- ช่วยในการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ
- ช่วยเสริมการทำงานของอินซุลินได้ด้วย
- จำเป็นในการสันดาปเพื่อสร้างพลัง
- ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหัวใจ เม็ดเลือดขาว ระบบประสาทส่วนกลางเป็นปกติ
2. แอล-คาร์นิทีน L-carnitine
เป็นชื่อกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ผลิตได้ที่ตับ โดยมีการสังเคราะห์จากกรดอะมิโน 2 ชนิดคือ Lysine และ Methionine L-carnitine จะช่วยลำเลียงโมเลกุลไขมันเล็กๆเข้าไปในโรงงานผลิตพลังงานระดับเซลล์ของเรา (คือไมโตคอนเดีย) ทำให้ไขมันแปรเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน พบมากในเนื้อแดงและผลิตภัณฑ์จากนม พืชตระกูลถั่ว ข้าว และรำข้าว ผักและผลไม้บางชนิด ยีสต์ที่ใช้หมักสุรา เกษรดอกไม้ การทานแอลคาเนทีนแบบธรรมชาติจะดูดซึมได้ดีกว่าแบบเม็ดหลายเท่าตัว
ประโยชน์แอล-คาร์นิทีน
- ทำให้เซลล์แก่ช้าลง เซลล์มีอายุยืนนานขึ้น ทั้งเซลล์สมอง เซลล์หัวใจ เซลล์ภูมิคุ้มกัน
- ช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนกรดไขมันไปเป็นพลังงาน ซึ่งพลังงานที่ได้มาส่วนใหญ่ก็จะถูกใช้สำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย สร้างพลังงานให้กล้ามเนื้อหัวใจ ลดอัตราการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ ลดการปวดเค้นของกล้ามเนื้อหัวใจ
- ทำหน้าที่ในระบบเมตาบอลิซึม สร้างพลังงาน ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน ทำให้หน้าท้องแบนราบ และร่างกายดูเฟิร์มกระชับขึ้น ช่วยลดน้ำหนัก
- ช่วยการสลายกรดไขมันในร่างกาย
- ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มไขมันตัวดีHDL
- ช่วยปัญหาในคนที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง เสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ
- เพิ่มแรงสำหรับการออกกำลังกายหนักๆ เช่น วิ่งมาราธอน
- ลดภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
- ช่วยลดความหิวและความอยากอาหารหวาน
- ป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว
- ช่วยเพิ่มการทำงานของตับช่วยเรื่องสุขภาพโดยรวมกับร่างกาย
- ลดความเครียด
- ช่วยเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย ทำให้รู้สึกสดชื่น กระฉับกระเฉง
- (การกินแบบเม็ดจะดูดซึมเพียง 5-18% ถ้ากินในแบบที่ใกล้เคียงธรรมชาติจะดูดซึมได้ถึง 75%)
- L-Carnitine ช่วยปกป้องหัวใจจากการขาดออกซิเจน และ oxidative stress
- งานวิจัยการใช้ในผู้ป่วย myocardial infarction, angina, and congestive heart failure โดยรวมได้ผลดี
3. โค-เอนไซม์ คิวเท็น Co Q10
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ช่วยสร้างพลังงานพื้นฐานให้กับทุกเซลล์ในร่างกาย โค-เอนไซม์คิวเท็นมีในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล นม น้ำมันถั่วเหลือง รำข้าว
ประโยชน์ของโค-เอนไซม์คิวเท็น
- -เพิ่มพลังงานระดับเซล และลดปฏิกิริยา Oxidation
- -ลดความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงจากการแข็งตัวของหลอดเลือด
- -ป้องกันหัวใจล้มเหลวจากการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด
- -เพิ่มประสิทธิภาพในการนำออกซิเจนให้กล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือด เพิ่มการสูบฉีดเลือดไปยังหัวใจ
- -ลดความเสื่ยงต่อมะเร็งต่างๆ ลดอาการข้างเคียงในพวกที่ให้เคมีบำบัด
- -เพิ่มภูมิคุ้มกัน เม็ดเลือดขาวกำจัดเชื้อโรคได้ดีขึ้น
- -ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- -ลดปัญหาเหงือกเละฟัน
- -ลดความเสื่ยงของกล้ามเนื้อตายจากสารตกค้างในกระบวนการเมตาบอลิซึม
- -ยับยั้งออกซิเดชั่นของ LDL cholesterol ไม่ให้เกาะกับหลอดเลือด
- -คงสภาพการทำงานของไมโตครอนเรีย และเซลให้เหมาะสมกับสภาวะเครียดทั้ง ภายในและภายนอก
โค-เอนไซม์คิวเทนในร่างกายจะลดลง ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการเกิดโรคได้หลายชนิด เช่น โรคชรา นอกจากนี้ความเครียด การติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อาจทำให้ปริมาณโค-เอนไซม์คิวเท็นในร่างกายไม่เพียงพอ หรืออายุมากขึ้น
ตรวจ echocardiographic พบว่าการทำงานกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญการกินยาโดยรวมลดลง
4. Policosanol โพลิโคซานอล
- โพลิโคซานอล Policosano พบเฉพาะในไขเปลือกอ้อย (Saccharum officinarum, L.)
ประโยชน์ของโพลิโคซานอล
- -ลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลตัวไม่ดี LDL ปรับสมดุลการสร้างไขมันโคเลสเตอรอล HDL
- -ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
- -เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
- -เสริมการทำงานของตับในการเผาผลาญไขมัน ช่วยบำรุงตับ
- -ลดคลอเรสเตอรอล ลดไตรกลีเซอไรด์ ช่วยสร้างไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี HDLจะมีหน้าที่
- นำพาไขมันที่สะสมและอุดตันตามผนังหลอดเลือดกลับไปทำลายที่ตับ
- -ลดความเสี่ยงภาวะการอุดตันของเกล็ดเลือด ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด
- -เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน ป้องกันการจับ
- ตัวเป็นก้อนของคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด
- -ป้องกันภาวะหัวใจ และสมองขาดเลือดเฉียบพลัน
- -ลดภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)
5. ออยสเตอร์ มัชรูม Oyster mushroom powder
ออยสเตอร์ มัชรูม พาวเดอร์ Oyster mushroom powder ประกอบไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน มีแร่ธาตุหลายชนิด
ประโยชน์ของออยสเตอร์ มัชรูม
- -มีกรดโฟลิคสูงช่วยป้องกันรักษาโรคโลหิตจาง
- -เบาหวาน
- -ลดความดันโลหิต
- -ไขมันน้อย ช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลปกติ
- -เหมาะกับโรคหัวใจและไตอักเสบเพราะมีโซเดียมต่ำ
- -ต้านไวรัส ต้านแบคทีเรีย
- -เพิ่มภูมิต้านทาน
6. โฟลิค แอซิด Folic Acid
โฟลิค แอซิด จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายได้ในน้ำพบได้ทั้งในพืช และเนื้อสัตว์ พืชใบสีเขียว
และเมล็ดธัญพืช เป็นสารที่สำคัญสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และในวัยเด็ก
ประโยชน์ของโฟลิค แอซิด
- -ปรับระดับโฮโมซิสเตอินให้เหมาะสม ถ้ามีมากทำลายหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดขนาด
- เล็ก เช่น หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดที่อยู่ในสมองทำให้ตีบและอุดตัน
- -ช่วยการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์
- -ป้องกันความผิดปกติของเลือด
- -สร้างเอ็มไซม์ต้านอนุมูลอิสระแก่หัวใจลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
- -ลดความดันโลหิตสูง
- -ป้องกันโรคมะเร็ง
- -ป้องกันโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
- -ลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดประสาทปลายเปิดในทารก
7. ซิลิเนียม Selenium
ซิลิเนียม Silinium เป็อต้านอนุมูลอิสระ มีในอาหารทะเล ตับ ไต รำข้าว จมูกข้าว
ข้าวกล้อง หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ บร๊อคโคลีน
ประโยชน์ของซิลิเนียม
- -ชะลอความชรา
- -ป้องกันมะเร็ง
- -เพิ่มจำนวนสเปิร์มและเพิ่มประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ในผู้ชาย และต่อมลูกหมาก
- -ป้องกันรังแค
- -ลดอาการวัยทอง
- -ลดความเสี่ยงหลอดเลือดตีบ
- -เพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อต่างๆ
- -ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ ปอด ลำไส้ใหญ่ช่วยสร้างเอ็นไซม์ต้านอนุมูลอิสระเฉพาะหัวใจ
Agel HRT – เอเจล ฮาร์ท เอชอาร์ที ช่วยอะไรท่านได้บ้าง
- ช่วยดูแลระดับของคลอเลสเตอรอล
- ทำให้ระบบหัวใจทำงานได้เป็นอย่างดี
- ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ต่อหัวใจและหลอดเลือดตีบ แตก ตัน
วิธีรับประทาน : รับประทานวันละ 1 ซอง
ถ้าเลือกได้..ป้องกันหรือรักษา?
สำหรับรับนักกีฬา ความเสี่ยง..เรื่องหัวใจมีอยู่เสมอ
เพิ่มพลังงานของหัวใจ เพิ่มสมรรถภาพการแข่งด้วย HRT
ผลการวิจัยทางการแพทย์ ของ Agel HRT
จากส่วนประกอบที่ดีที่สุดจากทั่วโลก
พบว่าค่าความเหนื่อย NYHA ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
58% ดีขึ้น 1 ขั้น
28% ดีขึ้น 2 ขั้น
1.2% ดีขึ้น 3 ขั้น
Usefulness of coenzyme Q10 in clinical cardiology: a long-term study.
4. Policosanol
- เป็นสารสกัดจากน้ำตาลอ้อยที่อุดมด้วย long chain fatty acids
- มีผลในในการลดกระบวนการผลิตไขมันเลว LDL
- 23 รายงาน (placebo-controlled RCT’s) ที่ศึกษาผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูง พบว่าลด LDL อย่างมีนัยสำคัญ
ผลต่อไขมันดี HDL พบว่า
- 15 ใน 23 รายงานพบว่า เพิ่ม HDL
- 8 รายงาน ไม่มีผล
- พบว่ามีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกับยาลดไขมัน ในการลด LDL และไตรกลีเซอไรด์
- รายงานแพทย์ครั้งใหญ่ในปี 2005 พบว่า (p < 0.0001 ทั้งหมด)
- ลดไตรกลีเซอไรด์ 16.2%
- ลด LDL 23.7%
- เพิ่ม HDL 10.6%
- มีผลแทรกซ้อนน้อยมาก และคล้ายกับยาหลอก
– การศึกษาใน Cuba ในผู้ป่วย 27,879 ราย พบผลแทรกซ้อน 0.31% ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย นอนไม่หลับ และปวดศีรษะ
5. Oyster mushroom powder
- Pleurotus ostreatus
- medicinal mushrooms มีฤทธิ์ ต้านไวรัส ต้านแบคทีเรีย ต้านมะเร็ง ลดคอเลสเตอรอล และเพิ่มภูมิต้านทาน
- Ostreolysin เป็นโปรตีนที่ไปสลายเยื่อหุ้มคอเลสเตอรอล
6. Folic Acid
- เป็นอาหารของสมอง โดยเฉพาะทารกในครรภ์
- เป็นสารจำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง
- ช่วยให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง และเม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ได้ดี
- ช่วยเอ็นไซม์ในการสังเคราะห์ DNA, RNA
- ควบคุมระดับ homocysteine
- เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
7. Selenium
- สารต้านอนุมูลอิสระ
- จำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างกลูตาไทโอน
- ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์
- ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก ปอด และลำไส้ใหญ่
- These statements have not been evaluated by the Food and Drug Administration. This product is not intended to diagnose, treat, cure or prevent any disease. “ผลิตภัณฑ์ Agel เอเจล เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเสริมอาหาร ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค, ควรกินอาหารหลากหลายครบทั้ง 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ”
