โรคเกื่ยวกับลิ้นหัวใจ
ลิ้นหัวใจผิดปกติ (Heart valve dysfunction) เป็นได้ทั้งลิ้นหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจฝ่อ และลิ้นหัวใจเสื่อม ลิ้นหัวใจรั่วค่ะ
สาเหตุของการเกิดเรื่องลิ้นหัวใจผิดปกติได้จากหลายสาเหตุ เช่น
–อ้วน
-การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ เกิดพังผืดหรือพวกไข้รูมาติก
-โรคออโต้อิมมูน/โรคภูมิต้านทานตนเอง
-เนื้อเยื่อลิ้นหัวใจเสื่อม
-ผลจากยาลดน้ำหนักหรือยาที่มีผลต่อความอยากอาหาร
-การสูบบุหรี่
อาการของหัวใจรั่ว
ทำให้เกิด อาการเล็กๆตั้งแต่เวียนศีรษะ เป็นลม เหนื่อยง่ายกว่าปกติแม้ไม่ได้ออกกำลัง หายใจลำบากนอนราบไม่ได้ นอนราบแล้วเหนื่อย อาจมีปวดหรือเจ็บหน้าอกลามไปแขนหรือบริเวณหน้าท้อง เจ็บเมื่อออกแรง เมื่อเกิดการทำงานที่ผิดปกติของการไหลเวียนเลือดที่รั่วทำให้เลือดคั่งในปอด เกิดการหายใจลำบาก หลอดเลือดสองข้างที่คอโป่งพอง การไหลเวียนเลือดที่หัวใจลดลง มือเท้า ริมฝีปากเขียวคล้ำ ชีพจรเต้นเร็ว กว่าปกติ หัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น และเกิดการบวมน้ำ บวมข้อเท้า เท้า ขาหรือแขน มีอาการมากมายที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของลิ้นหัวใจ แม้แต่การไอ การนอนหลับกลางคืน ปัสสวะตอนกลางคืนบ่อยๆ ก็เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้
เรื่องความผิดปกติของลิ้นหัวใจรั่ว ที่มีทั้ง4ที่ได้แก่
- ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral Regurgitation)
- ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว (Tricuspid Regurgitation)
- ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว (Aortic Regurgitation)
- ลิ้นหัวใจพัลโมนารีรั่ว (Pulmonary Regurgitation)
ในแต่ละชนิดมีอาการที่แตกต่างกันแต่นั่น ความสำคัญคือเราจะทำอย่างไรกับมันในเรื่องนี้ เริ่มที่สังเกตุอาการก่อน เพื่อลดความเสี่ยงโดยกำจัดต้นเหตุถึงดีที่สุดค่ะ
สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (Heart valve) ทำงานผิดปกติ เรามักพบได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุและไม่จำกัดเพศ การบีบตัวของหัวใจเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง โดยที่ลิ้นหัวใจเป็นตัวควบคุมทิศทางการไหลเวียนเลือด
เลือดดำจากบนขวา >>> สู่ล่างขวา >>> สู่หลอดเลือดปอด เพื่อไปฟอกเลือด
>>> ฟอกดำที่ฟอกกลายเป็น
เลือดแดงแล้วไหลกลับมาเข้าหัวใจ >>> ทางห้องซ้ายบน >>> สู่ซ้ายล่าง >>> สู่
ท่อเลือดเอออร์ตา >>> เพื่อส่งเลือดไปเลื้ยงทั่วร่างกาย วนเวียนไหลเป็นวงจรแบบ
นี้ค่ะ
ลิ้นหัวใจรั่วจะเริ่มแสดงอาการน้อยๆเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นมีอาการที่ยังไม่รุนแรง อาการรุนแรงมากขึ้นเมื่ออายุประมาณ 40 – 50 ปี จนทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยและอ่อนเพลียมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานจะลดต่ำลง
ลิ้นหัวใจจึงเป็นตัวสำคัญที่กำหนดทิศทางอย่างที่กล่าวไปข้างต้น เมื่อลิ้นผิดปกติจึงส่งผลกับกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดภาวะหัวใจโต เลือดคั่งได้ทั้งที่ปอดและหัวใจ เมื่อเป็นมากเกิดหัวใจล้มเหลวได้ง่ายขึ้นและทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
เราควรจัดการกับเรื่องลิ้นหัวใจรั่วอย่างไร
รีบฟื้นฟูด่วนเลยคะ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายและเกิดความเสียหายมากขึ้น คือ
- ออกกำลังกายอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ ในคนที่ยังออกกำลังกายได้ เรื่องนี้ควรปรึกษาแพทย์ การออกกำลังจะช่วยเรื่องช่วยหัวใจทำงานมากขึ้น
- ควบคุมน้ำหนัก เพื่อลดความรุนแรงของโรค ป้องกันโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง
- ดูแลเรื่องอาหารเลี่ยงไขมัน เลี่ยงเค็ม เลี่ยงหวาน
- ควบคุมความดัน ช่วยเรื่องการทำงานของหัวใจไม่ให้ทำงานหนักเกินไป ไม่ให้ลิ้นหัวใจเกิดความเสียหายรุนแรงมากขึ้น
- ควรงดการดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับผู้ป่วยโรคล้นหัวใจรั่วการดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้อาการยิ่งหนักขึ้น
- การทำฟันในผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจรั่ว ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะควบคู่ไปด้วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจส่งผลต่อลิ้นหัวใจ บางคนแพทย์จะสั่งให้ทานยาปฏิชีวนะก่อนไปทำฟัน
- พบแพทย์เป็นประจำ เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
แพทย์มักใช้ในการควบคุมและรักษาอาการของโรคลิ้นหัวใจมีดังนี้
1.การใช้ยา
ยาขับปัสสาวะ (Diuretics)ช่วยลดอาการเหนื่อยและอาการบวม
ยาเอซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE Inhibitor) เป็นยาที่ใช้เพื่อปรับสภาพการทำงานของหัวใจ ป้องกันหัวใจโตและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้หัวใจ
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulation Medication) ยาชนิดนี้ใช้กับผู้มีภาวะหัวใจสั่นพริ้วได้ดี (Atrial Fibrillation)
2.การผ่าตัด หากอาการของผู้ป่วยรุนแรง แพทย์จะต้องใช้การผ่าตัดเพื่อรักษาอาการ เพราะเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ทำจากไทเทเนียม ลิ้นหัวใจของสัตว์ ลิ้นหัวใจของคนที่ได้รับการบริจาค
การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมด้วยการใช้สายสวน (Transcatheter Aortic Valve Implantation: TAVI) สวนท่อเข้าไปในหลอดเลือดเอออร์ต้าเพื่อใส่ลิ้นหัวใจเทียม
การสวนหัวใจด้วยสายสวน (Cardiac Catheterization) เป็นการรักษาปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ โดยการสอดสายสวนเข้าไปที่หลอดเลือดหัวใจผ่านทางข้อมือและขาหนีบ เพื่อขยายหลอดเลือด และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนของลิ้นหัวใจรั่ว
หัวใจวาย
ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) ถ้าลิ้นหัวใจรั่วอย่างรุนแรง หัวใจจะเต้นเร็วและผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากกระแสไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ หายใจได้ไม่สะดวก
ลิ่มเลือดอุดตันได้
การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ (Endocarditis) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อย แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้หากลิ้นหัวใจผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาที่ดีและทันท่วงที ก็อาจนำมาสู่อาการที่รุนแรงซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ความดันเลือดแดงในปอดสูง (Pulmonary Hypertension) หากผู้ป่วยปล่อยปละละเลย ไม่ยอมทำการรักษาเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจส่งผลให้เกิดความดันในปอด และนำมาสู่ภาวะหัวใจห้องขวาวายได้
ในเรื่องความเสื่อมของลิ้นหัวใจในการรักษาที่ดูยุ่งยากวุ่นวาย เราควรที่จะป้องกันในเรื่องนี้จะดีกว่า การใช้เวลาในการดูแลฟื้นฟูร่างกาย อาจใช้เวลาหน่อยค่ะแต่ก็ถือว่าคุ้มค่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นก็จะลดลง ลดความเสี่ยงต่างๆ หากใครก็ตามมีสาเหตุดังกล่าวมา อย่ารอเวลาให้ปัญหาบานปลายค่ะ
เอเจลอูมิ เอเจลฮาร์ท เอเจลมินเป็นทางออกที่สะดวกคุ้มค่าไม่แพง มีผลลัพธ์ที่ช่วยเรื่องนี้อย่างชัดเจน
เราถือเรื่องปัญหาลิ้นหัวใจนี้เป็นสำคัญ “เพราะการป้อกันย่อมดีกว่ารักษาแน่นอนค่ะ”
โทรปรึกษาสุขภาพ การปรับพฤติกรรมการทานอาหาร และสอบถามรายละเอียดผลิตภัณฑ์ 0830646324